วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

อาหารผู้ป่วยไขมันในเลือดสูง


ไขมันในเลือดประกอบด้วย

โคเลสเตอรอล
ไตรกลีเซอร์ไรด์
เอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล

ไขมันชนิดที่ไม่ดีก่อให้เกิดโรค คือ

โคเลสเตอรอล
ไตรกลีเซอร์ไรด์

ไขมันชนิดที่ดีต่อต้านการเกิดโรค คือ

เอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล

โรคแทรกซ้อนของระดับไขมันในเลือดสูง

1.
โรคหัวใจขาดเลือด ทำให้มีอาการแน่นหน้าอก เวลาออกกำลังกาย
2.
อัมพาต แขนขาไม่มีแรงไปข้างใดข้างหนึ่ง เวียนศีรษะ บ้านหมุน
3.
เส้นเลือดไปเลี้ยงบริเวณขาไม่พอ ทำให้เวลาเดินแล้วปวดน่อง
4.
ตับอ่อนอักเสบ (ภาวะไตรกลีเซอร์ไรด์สูง)

ระดับไขมันที่พึงประสงค์

ระดับไขมันที่ดี ที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจได้น้อย คือ

ระดับโคเลสเตอรอลต่ำกว่า 200 มก./ดล.
ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ต่ำกว่า 200 มก./ดล.
ระดับเอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล สูงกว่า 50 มก./ดล.
อัตราส่วนโคเลสเตอรอล : เอ็ช ดี แอล ต่ำกว่า 4

วิธีควบคุมอาหาร

1.
ลด จำนวนโคเลสเตอรอลในอาหาร ควรลดหรืองดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง ได้แก่ ไข่แดง หอยนางรม สมองหมู ปลาหมึก กุ้ง และเครื่องในสัตว์ โดยดูปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหาร

ปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารต่าง ๆ เป็นมิลลิกรัม/ปริมาณอาหาร 100 กรัม
มิลลิกรัม
มิลลิกรัม
ไข่ ไข่ไก่ทั้งฟอง
427
อาหารทะเล หอยนางรม
231
เครื่องใน ตับไก่
336
หอยแครง
195
ตับหมู
364
หอยแมลงภู่
148
ตับวัว
218
กุ้งแชบ๊วย
192
ไตหมู
235
กุ้งกุลาดำ
175
หัวใจหมู
133
กุ้งนาง
138
หัวใจวัว
165
มันกุ้งนาง
138
หัวใจไก่
157
มันปูทะเล
361
ไส้ตันหมู
140
ปูม้า
90
เนื้อสัตว์ เนื้อวัว
65
ปูทะเล
87
เนื้อไก่
70
ปลาหมึกกระดองหัว
405
น่องไก่
100
ปลาหมึกกระดองเนื้อ
322
เนื้อเป็ด
82
ปลาหมึกกล้วยหัว
321
เนื้อห่านพะโล้
121
ปลาหมึกกล้วยเนื้อ
251
เนื้อกบ
47
เนย เนยเหลว
186
ปลาดุก
94
เนยแข็ง
33
ปลาช่อน
44

ปลากราย
77

ปลากระบอก
64

ปลาทู
76


ควร งดอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูงมาก เช่นเกิน 100 มก./100 กรัม ในขณะเดียวกันอาหารที่มีโคเลสเตอรอลไม่สูงมากนัก แต่รับประทานจำนวนมาก จะทำให้โคเลสเตอรอลในอาหารต่อวันสูงเกินไป เช่น เนื้อวัว 3 ขีด มีโคเลสเตอรอลทั้งหมด 185 มก. ดังนั้นผู้ที่มีระดับไขมันสูง ควรลดปริมาณเนื้อสัตว์ในอาหารลงด้วย เพื่อลดปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหาร โดยผู้ป่วยสามารถคำนวณปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหารได้เอง ให้อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 300 มก./วัน ในขั้นที่ 1 และ 200 มก./วัน ในขั้นที่ 2
2.
ลด ไขมันจากสัตว์ ได้แก่ มันสัตว์ เช่น หมูสามชั้น ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู เป็นต้น ถ้าจะรับประทาน หมู เนื้อ ควรเลาะมันออกให้หมด ถ้ารับประทานไก่ควรเอาหนังออกให้หมด
3.
การ รับประทานเนื้อสัตว์นั้น ถึงแม้ว่าจะเลาะหนัง และมันออกแล้วยังมีมันปนอยู่ในเนื้อสัตว์จำนวนมากน้อยต่างกัน ควรพิจารณาเลือกเนื้อสัตว์นั้นด้วย

ปริมาณไขมัน
เนื้อวัว เนื้อหม
7.9-13.2%
เนื้อไก่
5-7.4%
ปลานึ่ง เนื้อขาว
ต่ำกว่า 5%
ปลาทะเล
5-17%

4.
ดังนั้นจึงแนะนำให้รับประทาน เนื้อไก่ไม่ติดมันมากกว่าเนื้อวัว หรือเนื้อหมู ส่วนปลามีมากน้อยต่างกัน ปลาเนื้อขาวมีไขมันต่ำกว่า 5%
5.
งดอาหารจำพวกกะทิ เนื่องจากเป็นกรดไขมันอิ่มตัว
6.
เลือกใช้น้ำมันที่ถูกต้อง ควรใช้น้ำมันพืชที่ไม่ใช่น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันปาล์ม
7.
อาหารบางอย่างที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ หรือไม่สูงมาก แต่มีปริมาณไขมันจำนวนมาก ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นโคเลสเตอรอลในร่างกาย เช่น ถั่ว หนังเปิด เนย เป็นต้น มีไขมันถึง 60-70% ควรหลีกเลี่ยงเช่นกัน

ไขมัน
โคเลสเตอรอล
หนังไก่
32.4
109
เนยเทียม
80.6
0
เนยแข็ง
94
33
ถั่วลิสง
71
0
นม
3.3
14

8.
ไขมัน จากปลาทะเล สามารถลดระดับไตรกลีเซอร์ไรด์ได้ ทำให้เกล็ดเลือดจับตัวน้อยลง และเส้นเลือดบีบตัวน้อยลง แต่มีผลต่อโคเลสเตอรอล และเอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอลไม่ชัดเจน
9.
อาหาร ที่มีไฟเบอร์ (เส้นใยอาหาร) สูง จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล โดยจับกับน้ำดีที่มีโคเลสเตอรอลสูง ทำให้การดูดซึมลดลง อาหารที่มีไฟเบอร์สูง ได้แก่

แบ่งอาหารตามปริมาณไฟเบอร์ในอาหาร

ไฟเบอร์สูง
(มากกว่า 3 กรัม/อาหาร 100 กรัม)
แอปเปิ้ล แพร์
ฝรั่ง ถั่วเขียว
ข้าวโพดอ่อน แครอท
ถั่วแระ อาหารซีรีล ชนิดแบรน
ถั่วฝักยาว เม็ดแมงลัก
ไฟเบอร์ปานกลาง
(1-3 กรัม/อาหาร 100 กรัม)
ขนมปังโฮลวีที สปาเกตตี
มะกะโรนี ข้างแดง (ซ้อมมือ)
กะหล่ำปลี ข้าวโพดต้ม
พุทรา น้อยหน่า
ตะขบ

ควรควบคุมปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดโรคหัวใจ เส้นเลือดแข็งตัวง่าย ได้แก่

1.
สูบบุหรี่
2.
ความดันโลหิตสูง
3.
เบาหวาน
4.
ความเครียด

นอกจากนี้ ควรออกกำลังกายพอประมาณ เพื่อลดระดับโคเลสเตอรอล และเพิ่มระดับ เอ็ช ดี แอล โคเลสเตอรอล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น