วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

พิชิตโคเลสเตอรอลด้วยสารธรรมชาติ

ความเป็นจริงแล้ว โคเลสเตอรอลนั้นก็มีความจำเป็นต่อร่างกาย โดยเป็น ส่วนหนึ่งของเยื่อหุ้มเซลล์ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ และยังเป็นสารต้นตอในการ สังเคราะห์ฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกายอีกด้วย แต่ หากเจ้าปริมาณโคเลสเตอรอลที่ว่านี้มีมากเกินไปก็อาจจะส่งผลเสียได้ จะนำไปสู่การเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตันตลอดจนพยาธิสภาพของ หลอดเลือดหัวใจ ซึ่งนับเป็นหนึ่งในสาเหตุการตายที่พบบ่อยที่สุด แต่ อย่างไรก็ตาม ก็มีวิธีการง่ายๆที่สามารถเอาชนะเจ้าโคเลสเตอรอลตัวร้าย ได้ โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ได้แก่
  • ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids)
ฟลาโวนอยด์ สามารถป้องกันความเสื่อมของ เซลล์ต่างๆ อันเนื่องมาจากอนุมูลอิสระที่ได้มา จากปฏิกริยา Oxidation โดยคุณสามารถเลือก ทานผักและผลไม้สด ชา หัวหอม ถั่วเหลือง ไวน์แดง ซึ่งอุดมไปด้วยสารฟลาโวนอยด์ หรือ อาจรับประทานสารสกัด ฟลาโวนอยด์เสริมร่วม ไปกับสารสกัดเมล็ดองุ่น,สารสกัดเปลือกสน ฝรั่งเศส,ไลโคปีน หรือสารสกัดชาเขียว ก็ได้ ขนาดรับประทานที่แนะนำ สารฟลาโวนอยด์ 2-6 กรัมร่วมกับ สารสกัดเมล็ดองุ่นหรือสารสกัด เปลือกสนฝรั่งเศส 50 mg.และน้ำชาเขียว 3 ถ้วยหรือชาเขียวสกัด 300-400 mg.ทุกวัน
  • วิตามิน E
มีหลักฐานหลายชิ้นที่ระบุว่า วิตามิน E สามารถ ป้องกันเซลล์จากอนุมูลอิสระที่ได้มาจาก ปฏิกริยา Oxidation ของโคเลสเตอรอลชนิด เลว (LDL) ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ดังนั้นจึงควรรับประทานอาหารที่ อุดมด้วยวิตามิน E เช่น น้ำมันจากพืชผัก ถั่ว ต่างๆ และพืชใบเขียว ขนาดรับประทานที่แนะนำ วิตามิน E 400-800 IU./วัน
  • น้ำมันมะกอก(Olive oil)
เนื่องจากกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว (Monounsaturated fats) จะนำไปสู่การลดลงของปริมาณ LDL แต่จะไปทำให้ปริมาณ โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) มากขึ้น นอกจากนี้สาร Polyphenol ที่พบมากในน้ำมัน มะกอก จะช่วยในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ขนาดรับประทานที่แนะนำ โดยทดแทนน้ำมัน ปกติที่ใช้อยู่เดิมด้วยน้ำมันมะกอก
  • วิตามิน C
มีหลักฐานที่ระบุว่า วิตามิน C สามารถขัดขวาง ปฏิกริยา Oxidation ของโคเลสเตอรอล LDL และยังกระตุ้นการขจัด LDL ออกจากร่างกาย ได้อีกด้วย ขนาดรับประทานที่แนะนำ 1-1.5 กรัม/วัน
  • เส้นใยอาหาร(Fiber)
สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำให้ ทาน fiber 25-30 กรัม/วัน ตัวอย่างเช่น ข้าว โอ๊ต จมูกข้าว ข้าวบาร์เลย์ ซึ่งจะมีสาร Betaglucan ซึ่งจะมีผลต่อการขับโคเลสเตอรอล ออกจากร่างกายได้ โดยเพิ่มการทานเส้นใย อาหารที่ละลายน้ำได้ เช่น ข้าวโอ๊ต ถั่วต่างๆ แอปเปิ้ล ส่วนใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำเช่น ข้าว กล้อง กล้วย มะละกอ จะส่งผลดี ในเรื่องของ การช่วยเพิ่มกากใยในระบบขับถ่าย
  • Niacin (Vitamin B3)
โดยมีสรรพคุณทางยาสำหรับลด โคเลสเตอรอล จากอนุพันธ์ของ Nicotinic acid ซึ่งทางการแพทย์ใช้มานาน ตั้งแต่ปี ค.ศ 1950 เป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ตาม Niacin เอง มีผลต่อการขยายของหลอดเลือด ทำให้อาจจะ เกิดปัญหาผิวหนังร้อนแดง (Flushing) ดังนั้น ในขนาดรับประทานที่ใช้เพื่อรักษา จึงควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วขนาดรับประทานจะอยู่ที่ 800 mg./วัน โดยให้แบ่งรับประทาน 2-3 ครั้ง/วัน
  • กระเทียม (Garlic)
นอกจากฤทธิ์ในการลดความดันโลหิต ลดการ เกาะตัวกันของลิ่มเลือด เพิ่มภูมิต้านทานของ ร่างกาย และมีผลในการเป็นสารต้านแบคทีเรีย และไวรัสแล้ว ยังมีหลักฐานที่ระบุว่า กระเทียม สามารถลดการสังเคราะห็ โคเลสเตอรอลในตับ (75 % ของโคเลสเตอรอลได้จากการสร้างที่ตับ นอกนั้นเป็นผลจากอาหารที่รับประทานเข้า ไป ) ดังนั้นกระเทียมจึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางสำหรับผู้ที่ใช้วิธีอื่นในการลดโคเลสเตอรอล แล้วไม่ได้ผล แต่ก็มีบางรายงานที่แย้งว่ากระเทียมลดโคเลสเตอรอลได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นขนาดรับประทานที่แนะนำ 3-4 กลีบ/วัน หรือใช้กระเทียมสกัด 500- 2,500 mg./วัน
  • การออกกำลัง
สมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา แนะนำว่าควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30 นาที/วัน เพื่อที่จะช่วยเพิ่มระดับของ HDL และลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจได้เป็นอย่างดี

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า วิธีการในการลดโคเลสเตอรอลตัวร้ายนั้น ไม่ยากเลย เพราะเป็นสิ่งที่หาได้ง่ายตามธรรมชาติ ไม่ยุ่งยาก และใช้เวลาไม่มากนัก และที่สำคัญจะต้องมีการเลือกรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และมี คุณค่าทางโภชนาการร่วมด้วย เพียงเท่านี้ปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องกับหัวใจ และหลอดเลือดก็ลืมไปได้เลย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น