วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

การรักษา cholesterol ในเลือดสูงด้วยอาหาร

ประกอบด้วยหลักการ

1. รับประทานที่ให้พลังงานแต่พอควร การรับประทานอาหารที่ให้พลังงานมากกว่าร่างกายนำไปใช้ได้ เป็นประจำจะก่อให้เกิดโรคอ้วนในที่สุด ซึ่งมีผลทำให้ VLDL-Triglyceride ในเลือดสูงขึ้น HDL-cholesterol ในเลือดต่ำ ตลอดจนอาจทำให้ LDL-cholesterol ในเลือดสูงขึ้น ผู้ที่อายุมากกว่า20ปีสามารถประเมินตนเองว่าอ้วนหรือไม่ได้2วิธีคือ
  • อัตราส่วนเส้นรอบเอวต่อเส้นรอบวงสะโพก ผู้ชายและผู้หญิงควรมีเส้นรอบเอวที่ระดับสะดือต่อเส้นรอบวงสะโพกน้อยกว่า 1 และ 0.8ตามลำดับ หรืออาจจะวัดเส้นรอบเอวผู้ชายไม่ควรเกิน 90 ซม.ส่วนผู้หญิงไม่เกิน 80 ซม.
  • ดัชนีมวลกายโดยเอาน้ำหนัก(กก)หารด้วยส่วนสูง(เมตร)ยกกำลังสองค่าปกติอยู่ระหว่าง 20.00-25.00กก/ตารางเมตร
2. ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินควรจะลดปริมาณอาหารลง รับประทานไขมันทั้งหมดไม่เกินร้อยละ30ของพลังงานที่ได้รัรับประทานไขมันที่มีสัดส่วนของกรดไขมันอย่างเหมาะสมดังนี้
  • รับประทานไขมันอิ่มตัว [saturated fat]ให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพลังงานที่ได้รับเพราะไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่เพิ่ม LDL-cholesterol ในกระแสเลือด
  • รับประทานกรดไลโนเลอิก [linoleic acid] ร้อยละ 7ของพลังงานที่ได้รับโดยมีเหตุผล 2ประการคือป้องกกันการขาดกรดไลโนเลอิกและลดระดับ LDL-cholesterol
  • รับประทานกรดแอลฟา-ไลโนเลอิด [alpha-linolenic acid] ร้อยละ 0.5-1.0 ของพลังทั้งหมด
  • รับประทานกรดโอเลอิก [oleic acid] ร้อยละ 10-15ของพลังงานทั้งหมดเพราะกรดนี้สามารถ LDL-cholesterlได้ดีพอๆกับไลโนเลอิก

ในทางปฏิบัติกระทำได้โดยการบริโภคน้ำมันถั่วเหลืองวันละ1.5-4.5ช้อนโต๊ะและหลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปามล์ กะทิ เนยเหลว เนยเทียมแข็ง นม ครีม ไอสครีม หมูสามชั้น เนื้อติดมันมากๆ ไส้กรอก อาหารทอดนอกบ้าน เช่น ปาท่องโก๋ กล้วย ทอดมัน

3. รับประทานไขมันcholesterolไม่เกินวันละ 300 มก. อาหารที่มีโคเลสเตอรอลมากคือสมองสัตว์ เครื่องในสัตว์ ไข่แดง จึงหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ ส่วนเนื้อไม่ติดมันรับประทานได้พอควร

  1. รับประทานโปรตีนร้อยละ15-20ของพลังงานที่ได้รับ โดยเลือกเนื้อที่มีไขมันไม่มากเช่น เนื้อไก่ เนื้อปลา นมพร่องมันเนยถั่วเหลือง ไข่ไม่เกินวันละฟอง
  2. รับประทานคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 55-60 ของพลังงานทั้งหมด
  3. รับประทานผักและผลไม้ที่ไม่หวานเพราะใยอาหารจะช่วยลด cholesterolในเลือด

อาหารที่มีไฟเบอร์สูง(มากกว่า3กรัม/อาหาร100 กรัม)

แอปเปิล แพร์ ฝรั่ง ถั่วเขียว
ข้าวโพดอ่อน แครอท ถั่วแระ ถั่วฝักยาว
เม็ดแมงลัก ถั่วลิสง งา รำข้าว
เมล็ดทานตะวัน ถั่วแดง มะเขือพวง สะเดา
ผักกระเฉด กระเทียม ห็ดหูหน ใบชะพลู

อาหารที่มีไฟเบอร์ปานกลาง(1-3 กรัม/อาหาร 100 กรัม)

ขนมปังโฮลวีท สปาเกตต มะกะโรน ข้าวซ้อมมือ
กะหล่ำปล ข้าวโพดต้ม พุทรา น้อยหน่า
ตะขบ ถั่วฝักยาว ถั่วลันเตา กล้วย
ฝรั่ง มะม่วงดิบ มะละกอสุก ส้มเช้ง
ข้าวกล้อง เห็ด

4. เลือกใช้น้ำมันให้ถูกต้อง ควรเลือกใช้น้ำมันพืชที่มีไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมโน[monounsaturated]สูง กรดไลโนเลอิก และไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโพลี่ [polyunsaturated] พอควร ไขมันอิ่มตัว[saturated]ต่ำ ดังนั้นที่ดีคือ น้ำมันมะกอก รองลงมาคือน้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันข้าวโพด

สัดส่วนไขมันในน้ำมันชนิดต่างๆ

กรดไลโนเลอิก [linoleic acid]

ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมโน monounsaturated fat

ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโพลี่ polyunsaturated fat

ไขมันชนิดอิ่มตัว saturated fat

เนย/หมู/ปาล์ม 2% 30% 2% 66%
เมล็ดนุ่น - 19% 54% 27%
ถั่วลิสง ---- 48% 34% 18%
ถั่วเหลือง 7% 24% 54% 15%
มะกอก 1% 77% 8% 14%
ข้าวโพด 1% 25% 61% 13%
ดอกทานตะวัน --- 20% 69% 11%
น้ำมันงา 40% 42% 14%
น้ำมันไก่ 47% 21% 31
กระทิ

6% 2%


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น